สมาธิบำบัดทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต (MEDITATION THERAPY IN PSYCHIATRY AND MENTAL HEAITH)
|
ผู้แต่ง/ผู้แปล : ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ/ สมจิตร์ หร่องบุตรศรี/ ผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ
|
Barcode : 9786117183171
|
ISBN : 9786117183171
|
ปีพิมพ์ : 1 / 2552
|
ขนาด (w x h) : 180 x 265 mm.
|
ปก / จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 271 หน้า
|
หมวดหนังสือ : จิตเวชศาสตร์
|
ราคา 250.00 บาท
|
*** สนใจสั่งซื้อที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ***
สารบัญ
บทที่ 1 พื้นฐานเรื่องสมาธิ ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ ผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ – สุขภาพจิต สมาธิกับจิตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) นิยามของสมาธิ ความเป็นมาของสมาธิทางการแพทย์ โยคะ ศาสตร์เพื่อการพัฒนาร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ การแบ่งประเภทของสมาธิ ความแตกต่างของสมาธิและการฝึกผ่อนคลาย บทที่ 2 สรีระวิทยาของการทําสมาธิ ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ผลต่อระบบประสาท ผลต่อการหายใจ การศึกษาทางประสาทกายวิภาค ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ ผลทางชีวเคมีของร่างกาย ผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย บทที่ 3 ปรากฏการณ์วิทยา ปรากฏการณ์ทางจิตใจจากการทําสมาธิ ความมีสติ (mindfulness) อุตรภาพแห่งบุคคล อุเบกขา การปล่อยวาง ประสบการณ์เหนือคําบรรยาย ปีติสุข ภาวะแห่งพลังงานและความตื่นตัว การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของร่างกายและขอบเขตของตัวตน ภาวะฉุกเฉินทางจิตวิญญาณ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภาวะฉุกเฉิน ทางจิตวิญญาณและการป่วยทางจิตเวช
บทที่ 4 การจําแนกชนิดของการทําสมาธิ 95 การทําสมาธิแบบใช้มนตรา (Mantra meditation)
Transcendental Meditation (TM) สมาธิอย่างง่าย (Saral Meditation) การตอบสนองอย่างผ่อนคลาย Clinically Standardized Meditation กรรมฐาน 40 การทําสมาธิเจริญสติ (Mindfulness Meditation) วิปัสสนา การทําสมาธิในพุทธศาสนานกิ ายเซน Mindfulness-Based Stress Reduction Mindfulness-Based Cognitive Therapy โปรแกรมการเปลี่ยนแปลงจิตสํานึกเพื่อคลายเครียด โยคะ ไทเก็ก ชี่กง บทที่ 5 ภาวะทางจิตวิญญาณ ศาสนาและการแพทย์ นิยามของภาวะจิตวิญญาณ จิตวิญญาณและศาสนา จิตวิญญาณในฐานะที่เป็นมิติหนึ่งของสุขภาพ จิตวิญญาณในฐานะที่เป็นลมหายใจของชีวิต จิตวิญญาณและธรรมชาติของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน องค์ประกอบของการให้การดูแลทางจิตวิญญาณ การประเมินทางจิตวิญญาณสําหรับผู้ป่วย สมาธิในฐานะที่เป็นวิถีแห่งการพัฒนาทางจิตวิญญาณ จากพลังงานทางเพศถึงพลังทางจิตวิญญาณ : การเปลี่ยนรูปพลังงานทางเพศ จากจิตวิญญาณสู่การมีทักษะชีวิต (life skills) บทบาทของผู้รักษาต่อความเข้าใจในเรื่องจิตวิญญาณ บทที่ 6 การเปรียบเทียบจิตบําบัดและสมาธิบําบัด ระยะของพัฒนาการและการเกิดพยาธิสภาพทางจิต เปรียบเทียบ จิตบําบัดและสมาธิบําบัด เปรียบเทียบสมาธิบําบัดกับพฤติกรรมบําบัด สมาธิในแง่มุมของจิตบําบัดชนิดอุตรภาพแห่งบุคคล บทที่ 7 การประยุกต์ใช้สมาธิบําบัดทางคลินิก การนําสมาธิมาเป็นส่วนหนึ่งของการบําบัดและการดูแลสุขภาพ สมาธิบําบัดในทางจิตเวชศาสตร์ สมาธิบําบัดในโรควิตกกังวล สมาธิบําบัดในโรคซึมเศร้า สมาธิบําบัดในโรคสมาธิสั้น สมาธิบําบัดในการรักษาภาวะติดสารเสพติด สมาธิบําบัดในการรักษาปัญหาการนอน สมาธิบําบัดในเวชปฏิบัติ สมาธิบําบัดในการร่วมรักษาผู้ป่วยมะเร็ง สมาธิบําบัดในการบรรเทาอาการและผู้ป่วยระยะสุดท้าย สมาธิบําบัดในการร่วมรักษาโรคต่าง ๆ บทที่ 8 การวัดผลของสมาธิในทางคลินิก การประเมินความเปลี่ยนแปลงทางจิตสรีระ การประเมินทางด้านจิตสังคม การวัดผลลัพธ์ทางคลินิก การวัดทางพุทธิปัญญาและมาตรวัดทางจิตประสาท วัดการใช้บริการทางสุขภาพ การประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณ การประเมินระดับความมีสติ บทที่ 9 การจัดตั้งคลินิกสมาธิบําบัด องค์ประกอบที่สําคัญในคลินิกสมาธิบําบัด นักสมาธิบําบัด การจัดการ เกี่ยวข้อกับเรื่องสถานที่ การนัด โปรแกรมและรูปแบบสมาธิบําบัด ผู้ป่วย บทที่ 10 สมาธิบําบัดกับการพยาบาล
สมจิตร์ หร่องบุตรศรี ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ
สมาธิกับการช่วยเหลือผู้ป่วย สมาธิบําบัดมาใช้กับพยาบาลได้อย่างไร จะเริ่มการแนะนําผู้ป่วยเกี่ยวกับการฝึกสมาธิได้อย่างไร สมาธิบําบัดสําหรับดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปวด สมาธิบําบัดกับการเผชิญต่อความโศกเศร้า การนําสมาธิบําบดั มาใช้กับพยาบาลที่มีภาวะเครียดจากการทํางาน
บทที่ 11 ข้อพิจารณาพิเศษ
การวางใจที่ถูกต้องในการทําสมาธิ ผลข้างเคียงของการทําสมาธิ ประเด็นทางจริยธรรมและเวชปฏิบัติที่ดี บทที่ 12 กรณีศึกษา ภาคผนวกที่ 1: คู่มือสมาธิบําบัด ภาคผนวกที่ 2 : บทพูดนําการทําสมาธิลมหายใจ
คำนำ
การทำสมาธิ เป็นภูมิปัญญาสำคัญของโลกตะวันออกมานานหลายพันปี เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติทางศาสนา หรือความเชื่อทางจิตวิญญาณ ที่มีเป้าหมายในเชิงอุดมคติของศาสนานั้น ๆ เช่น การรู้แจ้ง ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวล การเข้าถึงสภาวะของพระผู้เป็นเจ้า แต่เมื่อศาสตร์ของการทำสมาธิได้ถูกเผยแพร่ไปสู่โลกตะวันตกเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการตื่นตัวที่จะศึกษาผลของการทำสมาธิในแง่มุมต่างๆอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการนำสมาธิมาเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดรักษาทางการแพทย์ และในทางจิตเวชศาสตร์ เมื่อกระบวนทัศน์การแพทย์มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม คือ กาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ และการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการรักษา เรื่องการทำสมาธิเพื่อผลทางการแพทย์จึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาศึกษาและร่วมในการบำบัดภาวะต่าง ๆ มากขึ้น
ตำรา สมาธิบำบัดในทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะประมวลศาสตร์เกี่ยวข้องกับสมาธิบำบัด โดยเนื้อหาได้จากการศึกษา ค้นคว้าตำรา คำสอนของครูอาจารย์ ผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ผสมผสานกับประสบการณ์ของผู้เขียนในด้านกาปฏิบัติสมาธิและการบำบัดผู้ป่วยในคลินิก รายละเอียดของเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเรื่องสมาธิ การจำแนกชนิด ผลทางสรีระวิทยา ประสบการณ์ที่เกิดจากสมาธิในเชิงพรรณนา ความสัมพันธ์เชื่อมโยงศาสนาจิตวิญญาณความเชื่อ เปรียบเทียบกับจิตบำบัดร่วมสมัย การประยุกต์ใช้สมาธิบำบัดในทางคลินิก การวัดประเมินผล ผลข้างเคียง ข้อพิจารณาพิเศษอื่น ๆ รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานคลินิกสมาธิบำบัด กรณีศึกษาและมีโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเพื่อคลายเครียดที่ผู้เขียนและคณะได้สังเคราะห์ขึ้นและใช้ในคลินิกสมาธิบำบัดที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมีบทที่กล่าวถึงสมาธิบำบัดกับการพยาบาล โดย อาจารย์สมจิตร์ หร่องบุตรศรี ผู้ซึ่งเป็นทีมงานในคลินิกสมาธิบำบัด และอาจารย์ผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิจ ผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสมาธิ การสะกดจิตและการประยุกต์ศาสตร์ทางจิตวิญญาณกับการแพทย์ ได้ร่วมเขียนในบทพื้นฐานเรื่องสมาธิ มุมมองภาวะทางจิตวิญญาณศาสนาและการแพทย์ อย่างไรก็ตามผู้อ่านโปรดทราบว่าเนื้อหาที่มีทั้งหมดในตำรานี้ยังไม่สามารถใช้เป็นคู่มือฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยตนเองได้ ผู้สนใจจำเป็นต้องมีประสบการณ์ตรงในการฝึกสมาธิร่วมกับคำแนะนำในการฝึกที่ถูกต้องจากครูผู้มีความเชี่ยวชาญ
ปรารถนาอย่างยิ่งว่า ตำรานี้จะเป็นแรงบันดาลใจ ข้อมูลอ้างอิงและแนวทาง ให้แก่ นักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ จิตแพทย์ ตลอดจนผู้ให้คำปรึกษา บุคลากรทางจิตเวชและสุขภาพจิต ในการศึกษาเรื่องสมาธิบำบัดเพื่อยังประโยชน์แก่ผู้ป่วยที่มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจและความทุกข์ทางจิตวิญญาณ ให้ได้พบกับ ความจริง ความรักและสันติสุข ในชีวิต
รศ.นพ.ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ
อ.ผ่องพรรณ กฤษณะประกรกิข
2 พฤษภาคม 2551
|
วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
หนังสือ-ตำราอนัมคาราฯ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น